รัฐปรับลดเพดานภาษีใหม่ ควบคู่กับมาตรการผ่อนปรน

223
ภาษี ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ปรับลด

เตรียมเฮ! รัฐผลักดันกม.ลดเพดาน ภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษี ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ปรับลดจากที่ทางภาครัฐต้องการผลักดันกฎหมาย ภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ… สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดการเสวนา และการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ… มาอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ในปี 2562 ซึ่งจะมีการจัดเก็บภาษีในอัตราใหม่ ทำให้ผู้ที่ครองที่ดินผืนงามในกรุงเทพฯ ที่เกรงว่าจะได้รับผลกระทบปล่อยที่ดินออกมาขายมากขึ้น

ผลจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะประกาศใช้ในปี 2562 ทำให้เจ้าของที่ดินที่กังวลว่าจะได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวนำที่ดินมาขายมากขึ้น โดยเฉพาะที่ดินในทำเลทองของกรุงเทพฯ โดยข้อมูลจากนายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ผลจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้เกิดการซื้อขายและเปลี่ยนมือเจ้าของที่ดินเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ดินแปลงขนาดใหญ่ของตระกูลดังที่ตั้งอยู่กลางเมือง

อย่าง เอชเคอาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จากฮ่องกงที่ซื้อที่ดินจากตระกูลพานิชภักดี เตรียมเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยระดับหรูบนที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื้อที่ 24 ไร่ บน ถ.พระราม 3 ด้วยงบลงทุนประมาณ 2,800 ล้านบาท และที่ดินอีกแปลงที่ร่วมทุนกับกลุ่มซิตี้เรียลตี้ พัฒนาบน ถ.วิทยุ ใกล้แยกสารสินตรงข้ามสวนลุมพินี เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ รวมทั้ง บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น ยังได้ที่ดินของตระกูลพิชัยรณรงค์สงคราม เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ บริเวณ ถ.หลังสวน โดยสร้างสถิติราคาขายต่อตารางวาสูงสุดถึง 3.2 ล้านบาท

ภาษี ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ปรับลดจึงทำให้ กมธ. ได้เสนอปรับลดเพดานภาษีลงประมาณ 40% โดยกรณีที่ดินเกษตรกรรม ลดเพดานเหลือ 0.15% ของฐานภาษี จากร่างกฎหมายเดิมที่คณะรัฐมนตรี กำหนดไว้ที่ 0.2% ส่วนที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยลดเพดานเหลือ 0.3% จากเดิมกำหนดที่ 0.5%

ขณะที่ที่ดินอื่น ๆ นอกจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย (รวมที่ดินรกร้างว่างเปล่า) ลดเพดานเหลือ 1.2% จากเดิมกำหนดที่ 2% แต่กรณีที่รกร้างว่างเปล่าจะมีการปรับเพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 3% ซึ่งต่ำกว่าเดิมที่กำหนดให้เพิ่มขึ้น 0.5% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 5%

อย่างไรก็ตาม กมธ. ได้เสนอกำหนดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ในช่วง 2 ปีแรกในอัตราผ่อนปรน ไว้ในบัญชีแนบท้ายของกฎหมาย ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป รัฐบาลขณะนั้นจะเป็นผู้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่จัดเก็บจริงต่อไป ทั้งนี้จะเสนอต่อที่ประชุม สนช. ภายในวันที่ 24 มกราคม 2561 คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาอีกประมาณ 60 วัน หากผ่าน สนช. จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

จากการประเมินคาดว่าภาครัฐจะมีรายได้จากการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีแรกประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

 

ที่มา : ddproperty